ตาอินเทวดามาขอเรียนธรรมกายกับหลวงพ่อสด
ในสมัยที่ หลวงพ่อสด จนทฺสโร หรือ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีชื่อเสียงและกิตติคุณไพศาลยิ่ง ด้วยเป็นผู้ค้นพบวิชาพระธรรมกาย และได้เผยแผ่วิชานี้จนมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา พากันมาขอเรียนวิชาธรรมกายปราบมารนี้ จนแน่นขนัดบริเวณวัดทุกเมื่อเชื่อวัน
อีกทั้งมีศิษย์ที่เป็นโยมอุปฐากวัด ทั้งที่เป็นข้าราชการระดับสูง ทั้งขุนทหาร ตำรวจ และข้าราชการศาลยุติธรรม เจ้าสัว มหาเศรษฐี ตลอดจนผู้มีหน้า มีตาในวงสังคมชั้นสูงอีกจำนวนมาก มากราบฝากตัวเป็นศิษย์วัดปากน้ำ ณ เวลานั้น จึงคราคร่ำ แน่นเนืองไปด้วยผู้คน ราวกับวัดมีงานรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา
วันหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำ ฉันเพลเสร็จ และบอกกรรมฐานให้กับผู้ต้องการขึ้นวิชาธรรมกายปราบมาร เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ถึงเวลาที่ท่านรับแขก คือสงเคราะห์ญาติโยม เมื่อหลวงพ่อท่านนั่งอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นย่อมเต็มไปด้วยผู้คน ทั้งที่เป็นโยมวัด โยมอุปฐาก แขกผู้มาเยือน ตลอดจนชาวบ้าน พากันเบียดเสียดเพื่อรอชมบารมีท่านไม่ห่างตาที่เชิงบันไดขึ้นศาลาใหญ่ ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำนั่งรับแขกอยู่นั้น มีชายชราผู้หนึ่งเนื้อตัวสกปรกมอมแมม ผมเผ้ารุงรัง ใส่หมวกผ้าใบเก่า
เสื้อผ้าล้วนแล้วแต่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าขาดๆ ปะปุรอบตัวปากแดงด้วยเลอะคราบหมาก ลักษณะท่าทาง เสื้อผ้า เหมือนขอทานไม่มีผิดเพี้ยนกำลังแหวกคน ขอทางเพื่อขึ้นไปกราบหลวงพ่อวัดปากน้ำ เมื่อชายขอทานเดินผ่านหน้าใคร หญิงชาย คนชรา รวมทั้งเด็กเล็ก เด็กโต ต่างพากันรีบหลีกเป็นช่องให้ เพราะรังเกียจ และกลัวความสกปรก จะมาพาลติดตัว แต่แปลกที่ชายชราขอทานผู้นี้ กลับไม่มีกลิ่นตัว เหม็นสาบ เหม็นสางเลยแม้แต่น้อย ใบหน้าชายชราอิ่มเอิบ ยิ้มย่องผ่องใส แววตาฉายแววประหลาดลึกซึ้ง ชายหนุ่มหลายคน ที่ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย รีบกางมือห้ามไม่ให้ขึ้นไปบนศาลา
“คนบ้า ไปเสียให้พ้น ๆ” บ้างก็ว่า “ถ้าปล่อยให้เข้าพบหลวงพ่อ แล้วเกิดคุ้มคลั่ง จะว่า อย่างไร ไม่น่าไว้ใจ”
แต่ชายชรา กลับแสดงอาการนอบน้อมยกมือไหว้ ขอเข้าพบหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลายคนชี้ชวนกันดู พลางพูดว่า ดูซิ บารมีของหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่ท่านดีจริงแม้แต่คนบ้าก็ยังดั้นด้นมากราบท่านเลย คนแก่หลายคนสงสาร ขอให้เจ้าหน้าที่วัด ช่วยหลีกทางให้ชายขอทานนี้ ได้พบหลวงพ่อวัดปากน้ำสมดังความตั้งใจด้วย สายตาของทุกคู่ บนศาลาการเปรียญ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญวันนั้น พากันจ้องมองชายขอทานคนนี้ เป็นตาเดียว มีแต่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เท่านั้นที่ยิ้มที่มุมปาก
เมื่อชายขอทานชรา มาอยู่ตรงหน้าหลวงพ่อสด วัดปากน้ำแล้วก็ก้มลงกราบงาม ๆ 3 ที พอเงยหน้าขึ้น ก็บอกกับหลวงพ่อว่า “ผมชื่ออิน จะมาขอเรียนวิชาธรรมกายด้วยคน”
หลวงพ่อวัดปากน้ำ รินน้ำชาส่งให้ พร้อมกับบอกว่า “อินเอ๊ย จะมัวซ่อนร่างอยู่ทำไม จงทำร่างให้ปรากฏตามความจริง ให้ถูกต้องเสียเถิด คนเขาจะได้รู้ตามความเป็นจริงเสียที”
ตาอิน อมยิ้ม สอบถามหลวงพ่อสด ถึงวิชาธรรมกาย ซึ่งท่านก็ตอบข้อสงสัยให้จนเสร็จสิ้น ถ้าใครเคยฝึกวิชาธรรมกายชั้นสูง ก็จะรู้ว่า คำถามของขอทานอิน กับคำตอบของหลวงพ่อสดนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นข้ออรรถ ข้อธรรม ในวิปัสสนาชั้นสูงทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ของผู้ถาม และแสดงให้เห็นภูมิธรรม ของผู้ตอบ อย่างชัดเจนที่สุดว่าต่างก็เป็น นักวิปัสสนาชั้นยอดด้วยกันทั้งคู่
บ่ายคล้อย ตาอินเสร็จสิ้นคำถามจึงได้กราบลาหลวงพ่อสด กลับบ้านที่พระประแดง ตอนนั้นศิษย์รุ่นเก่าที่เข้าถึงธรรมกายของหลวงพ่อสด พากันยกมือไหว้ คุณตาอินกันทุกคน และถ้าจะมีใครเดินตามขอทานอิน หรือตาอิน หรือคุณตาอิน ไปเพื่อซักถามประวัติ ความสนใจในวิปัสสนา และอภิญญาจิตของตาอินแล้ว ละก็เขาก็จะได้รู้ว่า ตาอินผู้นี้ อีกไม่ช้าไม่นาน ก็จะมีคนรู้จักในนามหลวงพ่ออิน เทวดา หรือหลวงพ่ออิน ตาทิพย์ แห่งวัดใหม่ตาอินทร์ หรือวัดราษฎร์รังสรรค์ ต.บางกระเจ้า อ.พระปะแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผู้ที่มรณภาพแล้วร่างกายไม่เน่าไม่เปื่อย และเป็นพระอภิญญาจารย์ ผู้มีฤทธิ์ ดุจพระอรหันต์ จี้กง นั่นเอง
จาก เว็บของนวกาพรหม
----------------------------------------------------------------
(เพิ่มเติม)
หลวงพ่ออิน ท่านเกิดในครอบครัวชาวสวน บิดาของท่านชื่อ เปล่ง เทศเนตร มารดาชื่อ แช่ม ท่านเกิดวันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ตรงกับวันที่ 7 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2439 บิดาให้ชื่อบุตรคนแรกนี้ว่า อิน เทศเนตร ในวัยเยาว์ท่านไม่ได้รับการศึกษาจึงทำให้ท่านไม่รู้หนังสือ แต่ด้วยสติปัญญาและปฏิภาณไหวพริบอันเป็นเลิศ ท่านสามารถจำสิ่งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เมื่อท่านเจริญวัยจนอายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดกองแก้ว บวชอยู่ระยะหนึ่งจึงสึกออกมาช่วยบิดาทำสวน ต่อมาท่านได้สมรสกับ นางแดง ช้างแก้ว มีบุตรด้วยกัน 5 คน
นายอิน เทศเนตร มีฝีมือทางช่างตัดผมได้เที่ยวรับจ้างตัดผมให้แก่ชาวบ้านทั่วไปในละแวกหมู่บ้านใกล้เคียง การแต่งกายของท่านไม่เหมือนกับบุคคลทั่วไป ท่านชอบสวมใส่เสื้อผ้าเก่าๆ ปุปะขาดวิ่น ในช่วงที่ท่านตระเวนรับจ้างตัดผมนั้น ท่านได้ใช้เวลาว่างศึกษาวิทยาการจากอาจารย์ของท่านได้แก่ หลวงปู่ต่วน (พระครูวิบูลธรรมคุต) แห่งวัดกองแก้ว ในด้านคาถาอาคม หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส ในด้านกรรมฐานวิปัสสนา ส่วนหลวงปู่ต่วนสอนในด้านวิชาการ จนมีความรู้แตกฉานในวิทยาคม ศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนเข้าใจในคำสอนนั้นอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะด้านกรรมฐานท่านมีความสนใจมาก มีชาวบ้านบางคนคิดทดสอบท่านโดยให้ตรวจดูดวงชะตา ท่านก็สามารถทายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จนชาวบ้านให้สมญานามท่านว่า “ตาอินเทวดา”
ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้ ที่ใดมีสำนักอาจารย์ดีท่านจะไปขอสมัครเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิทยาการจากท่านอาจารย์เหล่านั้น ทำให้ท่านมีความรู้กว้างขวางขึ้น ตามปกติแล้วถ้าว่างจากภารกิจท่านมักไปนั่งกรรมฐานที่บริเวณเนินดินที่เป็นวัดร้างเก่าแก่ที่เรียกกันทั่วไปว่า “ป่าวัดใหญ่” วันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังนั่งกำหนดจิตให้เป็นสมาธิอยู่นั้นก็บังเกิดนิมิตขึ้น เห็นพระพุทธรูปองค์งาม ต่อมาท่านได้ถวายนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อใหญ่สัมมกะโท” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระวิหารจนกระทั่งทุกวันนี้
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2499 ท่านได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งเป็นการเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อย่างถาวร มีนามทางเพศบรรพชิตว่า “อิน ฉายาอินทะญาโน” ท่านได้บูรณะบริเวณเนินดินที่เป็นวัดร้างนั้นให้เป็นที่พำนักของสงฆ์และให้ชื่อว่า “สำนักสงฆ์วัดใหญ่ตาอิน” ท่านได้สร้างศาลา กุฏิสงฆ์ สร้างวิหารเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่สัมมกะโท โดยท่านได้ตั้งชื่อวิหารนามเต็มนี้ว่า “วิหารหลวงพ่อใหญ่นิมิตสัมมะโท สลักวิหารตะวันวิหารสีนิลบำรุงปิ่นปกตลกนัก”
แรกเริ่มไม่มีอุโบสถเพื่อใช้ทำสังฆกรรมหลวงพ่ออินท่านได้สร้างโบสถ์เล็กๆ ขึ้นหลังหนึ่งโดยมีน้ำล้อมรอบเป็นเขตวิสุงคามสีมาให้ชื่อว่า “โบสถ์น้ำ” ต่อมามีพระสงฆ์มากขึ้นจึงมีพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาได้ร่วมกันสร้างกุฏิและศาลาต่างๆ และที่สำคัญได้ร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้นและได้รับอนุญาตพระราชทานวิสุงคามสีมา ถูกต้องตามระเบียบประเพณีและได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดราษฎร์รังสรรค์” ในเวลาต่อมา หลวงพ่ออิน อินทะญาโน เริ่มอาพาธด้วยโรคทางเดินหายใจในปี 2520 ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหลายครั้ง ทั้งนี้น่าจะเกิดจากความชราภาพในที่สุดท่านก็ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบเมื่อวันพฤหัสบดี กลางเดือนสี่ ปีพุทธศักราช 2521 สิริรวมอายุได้ 82 ปี
ในสมัยที่ หลวงพ่อสด จนทฺสโร หรือ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีชื่อเสียงและกิตติคุณไพศาลยิ่ง ด้วยเป็นผู้ค้นพบวิชาพระธรรมกาย และได้เผยแผ่วิชานี้จนมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา พากันมาขอเรียนวิชาธรรมกายปราบมารนี้ จนแน่นขนัดบริเวณวัดทุกเมื่อเชื่อวัน
อีกทั้งมีศิษย์ที่เป็นโยมอุปฐากวัด ทั้งที่เป็นข้าราชการระดับสูง ทั้งขุนทหาร ตำรวจ และข้าราชการศาลยุติธรรม เจ้าสัว มหาเศรษฐี ตลอดจนผู้มีหน้า มีตาในวงสังคมชั้นสูงอีกจำนวนมาก มากราบฝากตัวเป็นศิษย์วัดปากน้ำ ณ เวลานั้น จึงคราคร่ำ แน่นเนืองไปด้วยผู้คน ราวกับวัดมีงานรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา
วันหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำ ฉันเพลเสร็จ และบอกกรรมฐานให้กับผู้ต้องการขึ้นวิชาธรรมกายปราบมาร เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ถึงเวลาที่ท่านรับแขก คือสงเคราะห์ญาติโยม เมื่อหลวงพ่อท่านนั่งอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นย่อมเต็มไปด้วยผู้คน ทั้งที่เป็นโยมวัด โยมอุปฐาก แขกผู้มาเยือน ตลอดจนชาวบ้าน พากันเบียดเสียดเพื่อรอชมบารมีท่านไม่ห่างตาที่เชิงบันไดขึ้นศาลาใหญ่ ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำนั่งรับแขกอยู่นั้น มีชายชราผู้หนึ่งเนื้อตัวสกปรกมอมแมม ผมเผ้ารุงรัง ใส่หมวกผ้าใบเก่า
เสื้อผ้าล้วนแล้วแต่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าขาดๆ ปะปุรอบตัวปากแดงด้วยเลอะคราบหมาก ลักษณะท่าทาง เสื้อผ้า เหมือนขอทานไม่มีผิดเพี้ยนกำลังแหวกคน ขอทางเพื่อขึ้นไปกราบหลวงพ่อวัดปากน้ำ เมื่อชายขอทานเดินผ่านหน้าใคร หญิงชาย คนชรา รวมทั้งเด็กเล็ก เด็กโต ต่างพากันรีบหลีกเป็นช่องให้ เพราะรังเกียจ และกลัวความสกปรก จะมาพาลติดตัว แต่แปลกที่ชายชราขอทานผู้นี้ กลับไม่มีกลิ่นตัว เหม็นสาบ เหม็นสางเลยแม้แต่น้อย ใบหน้าชายชราอิ่มเอิบ ยิ้มย่องผ่องใส แววตาฉายแววประหลาดลึกซึ้ง ชายหนุ่มหลายคน ที่ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย รีบกางมือห้ามไม่ให้ขึ้นไปบนศาลา
“คนบ้า ไปเสียให้พ้น ๆ” บ้างก็ว่า “ถ้าปล่อยให้เข้าพบหลวงพ่อ แล้วเกิดคุ้มคลั่ง จะว่า อย่างไร ไม่น่าไว้ใจ”
แต่ชายชรา กลับแสดงอาการนอบน้อมยกมือไหว้ ขอเข้าพบหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลายคนชี้ชวนกันดู พลางพูดว่า ดูซิ บารมีของหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่ท่านดีจริงแม้แต่คนบ้าก็ยังดั้นด้นมากราบท่านเลย คนแก่หลายคนสงสาร ขอให้เจ้าหน้าที่วัด ช่วยหลีกทางให้ชายขอทานนี้ ได้พบหลวงพ่อวัดปากน้ำสมดังความตั้งใจด้วย สายตาของทุกคู่ บนศาลาการเปรียญ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญวันนั้น พากันจ้องมองชายขอทานคนนี้ เป็นตาเดียว มีแต่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เท่านั้นที่ยิ้มที่มุมปาก
เมื่อชายขอทานชรา มาอยู่ตรงหน้าหลวงพ่อสด วัดปากน้ำแล้วก็ก้มลงกราบงาม ๆ 3 ที พอเงยหน้าขึ้น ก็บอกกับหลวงพ่อว่า “ผมชื่ออิน จะมาขอเรียนวิชาธรรมกายด้วยคน”
หลวงพ่อวัดปากน้ำ รินน้ำชาส่งให้ พร้อมกับบอกว่า “อินเอ๊ย จะมัวซ่อนร่างอยู่ทำไม จงทำร่างให้ปรากฏตามความจริง ให้ถูกต้องเสียเถิด คนเขาจะได้รู้ตามความเป็นจริงเสียที”
ตาอิน อมยิ้ม สอบถามหลวงพ่อสด ถึงวิชาธรรมกาย ซึ่งท่านก็ตอบข้อสงสัยให้จนเสร็จสิ้น ถ้าใครเคยฝึกวิชาธรรมกายชั้นสูง ก็จะรู้ว่า คำถามของขอทานอิน กับคำตอบของหลวงพ่อสดนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นข้ออรรถ ข้อธรรม ในวิปัสสนาชั้นสูงทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ของผู้ถาม และแสดงให้เห็นภูมิธรรม ของผู้ตอบ อย่างชัดเจนที่สุดว่าต่างก็เป็น นักวิปัสสนาชั้นยอดด้วยกันทั้งคู่
บ่ายคล้อย ตาอินเสร็จสิ้นคำถามจึงได้กราบลาหลวงพ่อสด กลับบ้านที่พระประแดง ตอนนั้นศิษย์รุ่นเก่าที่เข้าถึงธรรมกายของหลวงพ่อสด พากันยกมือไหว้ คุณตาอินกันทุกคน และถ้าจะมีใครเดินตามขอทานอิน หรือตาอิน หรือคุณตาอิน ไปเพื่อซักถามประวัติ ความสนใจในวิปัสสนา และอภิญญาจิตของตาอินแล้ว ละก็เขาก็จะได้รู้ว่า ตาอินผู้นี้ อีกไม่ช้าไม่นาน ก็จะมีคนรู้จักในนามหลวงพ่ออิน เทวดา หรือหลวงพ่ออิน ตาทิพย์ แห่งวัดใหม่ตาอินทร์ หรือวัดราษฎร์รังสรรค์ ต.บางกระเจ้า อ.พระปะแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผู้ที่มรณภาพแล้วร่างกายไม่เน่าไม่เปื่อย และเป็นพระอภิญญาจารย์ ผู้มีฤทธิ์ ดุจพระอรหันต์ จี้กง นั่นเอง
จาก เว็บของนวกาพรหม
----------------------------------------------------------------
(เพิ่มเติม)
หลวงพ่ออิน ท่านเกิดในครอบครัวชาวสวน บิดาของท่านชื่อ เปล่ง เทศเนตร มารดาชื่อ แช่ม ท่านเกิดวันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ตรงกับวันที่ 7 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2439 บิดาให้ชื่อบุตรคนแรกนี้ว่า อิน เทศเนตร ในวัยเยาว์ท่านไม่ได้รับการศึกษาจึงทำให้ท่านไม่รู้หนังสือ แต่ด้วยสติปัญญาและปฏิภาณไหวพริบอันเป็นเลิศ ท่านสามารถจำสิ่งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เมื่อท่านเจริญวัยจนอายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดกองแก้ว บวชอยู่ระยะหนึ่งจึงสึกออกมาช่วยบิดาทำสวน ต่อมาท่านได้สมรสกับ นางแดง ช้างแก้ว มีบุตรด้วยกัน 5 คน
นายอิน เทศเนตร มีฝีมือทางช่างตัดผมได้เที่ยวรับจ้างตัดผมให้แก่ชาวบ้านทั่วไปในละแวกหมู่บ้านใกล้เคียง การแต่งกายของท่านไม่เหมือนกับบุคคลทั่วไป ท่านชอบสวมใส่เสื้อผ้าเก่าๆ ปุปะขาดวิ่น ในช่วงที่ท่านตระเวนรับจ้างตัดผมนั้น ท่านได้ใช้เวลาว่างศึกษาวิทยาการจากอาจารย์ของท่านได้แก่ หลวงปู่ต่วน (พระครูวิบูลธรรมคุต) แห่งวัดกองแก้ว ในด้านคาถาอาคม หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส ในด้านกรรมฐานวิปัสสนา ส่วนหลวงปู่ต่วนสอนในด้านวิชาการ จนมีความรู้แตกฉานในวิทยาคม ศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนเข้าใจในคำสอนนั้นอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะด้านกรรมฐานท่านมีความสนใจมาก มีชาวบ้านบางคนคิดทดสอบท่านโดยให้ตรวจดูดวงชะตา ท่านก็สามารถทายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จนชาวบ้านให้สมญานามท่านว่า “ตาอินเทวดา”
ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้ ที่ใดมีสำนักอาจารย์ดีท่านจะไปขอสมัครเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิทยาการจากท่านอาจารย์เหล่านั้น ทำให้ท่านมีความรู้กว้างขวางขึ้น ตามปกติแล้วถ้าว่างจากภารกิจท่านมักไปนั่งกรรมฐานที่บริเวณเนินดินที่เป็นวัดร้างเก่าแก่ที่เรียกกันทั่วไปว่า “ป่าวัดใหญ่” วันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังนั่งกำหนดจิตให้เป็นสมาธิอยู่นั้นก็บังเกิดนิมิตขึ้น เห็นพระพุทธรูปองค์งาม ต่อมาท่านได้ถวายนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อใหญ่สัมมกะโท” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระวิหารจนกระทั่งทุกวันนี้
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2499 ท่านได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งเป็นการเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อย่างถาวร มีนามทางเพศบรรพชิตว่า “อิน ฉายาอินทะญาโน” ท่านได้บูรณะบริเวณเนินดินที่เป็นวัดร้างนั้นให้เป็นที่พำนักของสงฆ์และให้ชื่อว่า “สำนักสงฆ์วัดใหญ่ตาอิน” ท่านได้สร้างศาลา กุฏิสงฆ์ สร้างวิหารเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่สัมมกะโท โดยท่านได้ตั้งชื่อวิหารนามเต็มนี้ว่า “วิหารหลวงพ่อใหญ่นิมิตสัมมะโท สลักวิหารตะวันวิหารสีนิลบำรุงปิ่นปกตลกนัก”
แรกเริ่มไม่มีอุโบสถเพื่อใช้ทำสังฆกรรมหลวงพ่ออินท่านได้สร้างโบสถ์เล็กๆ ขึ้นหลังหนึ่งโดยมีน้ำล้อมรอบเป็นเขตวิสุงคามสีมาให้ชื่อว่า “โบสถ์น้ำ” ต่อมามีพระสงฆ์มากขึ้นจึงมีพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาได้ร่วมกันสร้างกุฏิและศาลาต่างๆ และที่สำคัญได้ร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้นและได้รับอนุญาตพระราชทานวิสุงคามสีมา ถูกต้องตามระเบียบประเพณีและได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดราษฎร์รังสรรค์” ในเวลาต่อมา หลวงพ่ออิน อินทะญาโน เริ่มอาพาธด้วยโรคทางเดินหายใจในปี 2520 ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหลายครั้ง ทั้งนี้น่าจะเกิดจากความชราภาพในที่สุดท่านก็ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบเมื่อวันพฤหัสบดี กลางเดือนสี่ ปีพุทธศักราช 2521 สิริรวมอายุได้ 82 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น