อานิสงส์ถวายสัพพทาน
...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ
๑. ให้ของที่สะอาด ๒. ให้ของประณีต ๓. ให้ถูกกาล ๔. ให้ของที่สมควร
๕. เลือกให้ ๖. ให้เสมอ ๆ๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส ๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ
สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา
ในกาลครั้งนั้น
องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนายอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้
ๆ นครสาวัตถี
ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ
ก็เอา
ประธูปประทีปคันธรสของหอมแล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า
แล้วก็นั่งในที่ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า
“ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใดเลื่อมใสศรัทธา
มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา”
อันว่าองค์
... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา
มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า
สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป
ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป
ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป ฯลฯ
ที่มา http://84000.org/anisong/38.html
วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560
อานิสงส์บวช
http://www.84000.org/anisong/index.shtml
08 อานิสงส์บวช
...บวชนี้ย่อมมีผลานิสงส์อย่างมากมาย องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเทศนาอานิสงส์แห่งการบรรพชาอุปสมบทไว้โดยอเนกประการว่า ทาสสฺส อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลใดมีศรัทธาบรรพชาทาสกรรมกรให้เป็นสามเณร หรือสามเณร มีอานิสงส์ ๔ กัล์ป บวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี มีอานิสงส์ ๘ กัล์ป และถ้าอุปสมบทจะได้รับอานิสงส์ ๑๖ กัล์ป หากอุปสมบทได้อานิสงส์ ๓๒ กัล์ป ถ้าอุปสมบทตนเองในพระพุทธศาสนา ด้วยศรัทธาเลื่อมใสจะได้อานิสงส์ถึง ๖๔ กัล์ป บุคคลใดได้บรรพชาบุตรตนก็ดี บุตรของผู้อื่นก็ดี ก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิแล้วพระองค์ตรัสอีกว่าดูกรอานนท์ดังจะเห็นได้จากหญิงผู้หนึ่ง เขามีบุตรอยู่คนเดียว บุตรชายเขาขอไปบวชมารดาก็ไม่ให้บวชบุตรชายจึงหนีไปบวช อยู่มาวันหนึ่งมารดาของสามเณรนั้นออกจากบ้านไปแต่เช้า เพื่อจักแสวงหาฟืน มารดาสามเณรครั้นหาฟืนได้พอสมควรแล้วก็กลับบ้าน พอมาถึงระหว่างทางได้พักอยู่โคนต้นไม้ใหญ่ แล้วลงนอนพักผ่อนก็หลับไป ได้นิมิตรฝันไปว่ามีพระยายมราชมาถามว่า ดูกรผู้หญิง เธอได้กระทำบุญหรือว่าไม่ได้กระทำเลย มารดาของสามเณรนั้นตอบว่าข้าแต่เจ้า ดิฉันไม่ได้กระทำบุญอย่างไรเลย พระยายมราชทราบแล้ว ก็จับเอาผู้หญิงนั้นไปใส่นรกทันที ได้และเห็นไฟนรกลุกโพรงก็ถามพระยายมราชว่า อันไฟแดงนั้นเป็นอย่างไร พระยายมราชว่า อันไฟแดงนั้นเป็นไฟนรก ผู้หญิงจึงบอกว่าเหมือนกับผ้าจีวรของลูกชายของข้าพเจ้าอันได้บวชเป็นสามเณรนั้นแล พระยายมราชจึงกล่าวว่าดูกรผู้หญิง ลูกชายของเธอยังได้บวชหรือนางก็ตอบว่าลูกชายยังได้บวชเป็นสามเณรอยู่พระยายมราชได้ยินคำของนางดังนั้นแล้ว จึงนำนางมาคืนไว้เดิมเสีย เหตุอันนี้ก็เพราะบุญของลูกชายตนได้บวชเป็นสามเณร ในพุทธศาสนาไปกั้นไว้ในนรกได้ ครั้นนางตื่นขึ้นมาก็ตกใจกลัวรีบกลับบ้าน ตั้งแต่นั้นนางก็เลื่อมใสในพุทธศาสนา เฝ้าปฏิบัติสามเณรลูกชายของตน มิได้ขาดจนนางได้ตายไปตามอายุขัยก็ไปบังเกิดในสวรรค์ดั้งนี้ เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------
จากหนังสือ มหาอานิสงส์ ๑๐๘ กัณฑ์ (บางส่วน)
การบวชลูกหลานทาสาทาสีสามีภรรยาของตน ให้เป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ในพระพุทธศาสนานั้น จัดได้ว่าเป็นญาติในพระศาสนาข้อนี้ปรากฏตามข้อความสนทนาระหว่างพระเจ้าศรีธรรมาโศการาช เรื่องมีว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ได้บริจาคทรัพย์สร้างวิหารเจดีย์ถึง ๘๔,๐๐๐ แล้ว ได้ไปตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระว่า " โยมสละทรัพย์ในการก่อสร้างเจดีย์วิหาร ๙๖ โกฏิแล้วจัดได้ว่าเป็นญาติในพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง ? พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระถวายพระพรว่า " ยังไม่เป็นญาติในพระศาสนา เป็นแต่เพียงคนเลื่อมใสได้บำรุงพระศาสนาเท่านั้น " พระเถระกล่าวต่อไปว่า " ผู้ใดเป็นคนจนหรือคนร่ำรวยก็ตามที ถ้าได้มีศรัทธาบวชลูกหลาน ทาสาทาสี สามีภรรยา ไว้ในพระพุทธศาสนา ผู้นี้แหละเรียกว่าเป็นญาติในพระพุทธศาสนา จึงในเวลาต่อมา พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้บวชเจ้ามหินทกุมาร และนางสังฆมิตตา ผู้เป็นโอรสราชธิดาไว้ในพระพุทธศาสนา พระเถระเจ้าจึงซ้องสาธุการแด่พระมหากษัตริย์ว่า " บัดนี้พระองค์ได้เป็นญาติในพระพุทธศาสนาแล้ว "
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)